วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

ความหมายของนวัตกรรม
                นวัตกรรม      ความคิด ริเริ่ม  การทำสิ่งใหม่ ที่แปลกไปจาเดิม ด้วย การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือการพัฒนาต่อยอด ให้ทันสมัยนอกจากนี้ยังเป็นความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล    และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย 
             ดังนั้นไม่ว่าวงการใดหรือกิจการใดก็ตามเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็น นวัตกรรม เช่น วงการศึกษา ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา  เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

    ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
    ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
   ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ประเภทของนวัตกรรม
     - นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม
      - นวัตกรรมที่เป็นนามธรรม
      -นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด  ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน  เพิ่งค้นพบขึ้น
       -นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ผสมกับสิ่งเก่า  คือการนำเอาสิ่งเก่าที่ไม่ได้รับความนิยมมาทำ
การปรับปรุงให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รูปแบบนวัตกรรม
นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น
- แผนการสอน                  - ชุดการสอน                                   - คู่มือครู
- บทเรียนสำเร็จรูป           - สไลด์- สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ              - เกม   ฯลฯ

นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ

1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
       คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กรหรือแม้แต่ตัวเราเอง
2.นวัตกรรมในขบวนการผลิตหรือการดำเนินงาน (Process Innovation)
    เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม
3.นวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation) นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้ ธุรกิจต้องค้นหา "นวัตกรรมธุรกิจ" ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมมิใช่เพียงแค่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ แต่ต้องเป็น ความคิดใหม่ๆที่สามารถขายได้ หรือ การทำให้ความคิดใหม่ๆ มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ แหล่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรม อยู่ที่ "ลูกค้าหรือตลาดการแข่งขัน" เพราะจะแสดงถึงความต้องการของผู้บริโภค ความมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คู่แข่งนำหน้าเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เราจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย โดย
 
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ

1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

       2.ความพร้อม (Readiness)
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)- การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน

  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้

      สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
       -  ครูผู้สอน
      - ผู้เรียน
      -หลักสูตรเนื้อหา
      -ทักษะกระบวนการต่างๆ
      -สื่ออุปกรณ์

นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ  ได้แก่  สไลด์  แผ่นใส  สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2.  สื่อประเภทอุปกรณ์  ได้แก่  ของจริง  และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ   ได้แก่  การสาธิต  การอภิปรายกลุ่ม  การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน  การจัดนิทรรศการ  และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์   ได้แก่  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยี    คือ  Innotech  การใช้ในการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้ร่วมกันใช้สื่อเทคนิควิธีการหลากหลาย

ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี คือ  การประยุกต์นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้   เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์
ประเภทของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต

ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา 
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ 

ประโยชน์ของเทคโนโลยี-ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว-ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น-ช่วยให้เราทันสมัย-ช่วยประหยัดเวลา-ช่วยในการทำงาน

โทษของเทคโนโลยีทั่วไป1 .สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ2. เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)3 .ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย4. ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน5. ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat6. หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน
         บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
    
สารสนเทศ
  สารสนเทศ หมายถึง     ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้      เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
           ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต คือ การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก การปฏิวัติทางเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น จะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติไม่น้อยไปกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
   1.ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
   2.ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

ประโยชน์ของสารสนเทศ
   1.ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2.ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3.ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

แหล่งสารสนเทศ (Information Sources)  
1.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
2.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่  
3.แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
4.แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ 
5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์
6.อินเทอร์เน็ต

แหล่งสารสนเทศ (Information Sources)
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่ และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
            2.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่  
            3.แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
            4.แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ 
            5.ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์
            6.อินเทอร์เน็ต

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา